วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประวัติวันออกพรรษา



    วันออกพรรษา หรือ วันปวารณาออกพรรษา เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาวันหนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลา จำพรรษา 3เดือนของพระสงฆ์เถรวาท โดยเป็นวันที่พระสงฆ์จะทำสังฆกรรมปวารณาออกพรรษา วันออกพรรษาตามปกติ(ออกปุริมพรรษา1)
จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 (ประมาณเดือนตุลาคม) หลังวันเข้าพรรษา 3 เดือน ตามปฏิทินจันทรคติไทย
        การออกพรรษานั้น ถือเป็นข้อปฏิบัติตามพระวินัยสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ เรียกว่า "ปวารณา" จัดเป็นญัตติกรรมวาจาสังฆกรรม
ประเภทหนึ่ง ที่ถูกกำหนดโดยพระวินัยบัญญัติให้โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอดไตรมาส สามารถว่ากล่าวตักเตือนและชี้ข้อบกพร่อง แก่กันและกันได้โดยเสมอภาค ด้วยจิตที่ปรารถนาดีซึ่งกันและกัน เพื่อสามารถให้พระสงฆ์ที่ถูก ตักเตือนมีโอกาสรับรู้ข้อบกพร่องของตนและ สามารถนำข้อบกพร่องไปแก้ไขปรับปรุงตัวให้ดียิ่งขึ้น
เมื่อถึงวันออกพรรษา
        ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาส พรรษากาล ในวันนี้ และวันถัดจากวันออกพรรษา 1 วัน(แรม 1ค่ำ เดือน11) พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยยังนิยมไปทำบุญตักบาตรครั้งใหญ่ เรียกว่า
ตักบาตรเทโว หรือ ตักบาตรเทโวโรหนะ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติที่กล่าวว่า ในวันถัดวันออกพรรษาหนึ่งวัน พระพุทธเจ้า ได้เสด็จลงจากเทวโลกกลับจากการโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในพรรษาที่ 7 เพื่อลงมายังเมืองสังกัสสนครพร้อมกับทรงแสดง โลกวิวรณปาฏิหาริย์เปิดโลกทั้งสามด้วย
        นอกจากนี้ ช่วงเวลาออกพรรษาตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ถือเป็นเวลากฐินกาลตามพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นช่วงเวลาที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยจะเข้าร่วมบำเพ็ญกุศลเนื่องในงานกฐินประจำปีในวัดต่างๆ โดยถือว่าเป็นงานบำเพ็ญกุศลที่ได้บุญกุศลมาก งานหนึ่ง


กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันออกพรรษา

1. ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ
2. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
3. ร่วมกิจกรรม "ตักบาตรเทโว" (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11)
4. ทำความสะอาดบ้านเรือน ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการและประดับธงชาติ และธงธรรมจักรตามวัดและสถานที่    
   สำคัญทางพระพุทธศาสนา
5. ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย หรือบรรยายธรรม เกี่ยวกับวันออกพรรษาเพื่อให้ความรู้
   แก่ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป





ที่มา. http://www.krotron.com/webactivity/OokpunsaDay.php

วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

“ส่งลูกไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า” ลูกชายคนดี กัลยาณมิตรของแม่


   ลูกโย่งกับคุณแม่

เคยมีคนบอกว่า สิ่งที่คนเป็นพ่อแม่เสียใจที่สุดคือการได้เห็นลูกเสียชีวิตไปก่อน วันนี้แม่หทัยภรณ์ กสิกิจนำชัย เข้าใจความหมายของประโยคนี้ดีกว่าใครๆ เพราะเมื่อ 3 ปีที่แล้ว เธอเป็นผู้กล่อมให้ลูกชายคนโตหลับไปอย่างสงบและกล้าหาญในอ้อมอกของตัวเองจนวินาทีสุดท้าย

วันหนึ่งเมื่อ 3 ปีที่แล้ว 
แม่หทัยภรณ์ และลูกชายคนโต โย่ง - วีระภัทร อัครดำรงเวช ได้รับข่าวร้ายพร้อมๆ กันว่า โย่งเป็นโรคมะเร็งที่ขั้วปอด ท่ามกลางความตกใจของทั้งครอบครัว แม่หทัยภรณ์ครองสติและใช้ธรรมะกล่อมเกลาโรคร้ายไปพร้อมๆ กับการรักษาของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้วยความหวังที่ว่าลูกต้องหาย 


“ครั้งแรกที่ได้ยินคือช็อกความรู้สึก แต่ขณะเดียวกันแม่ก็ได้ยินพร้อมกันกับน้องโย่ง ไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่าเรื่องแบบนี้จะเกิดกับคนในครอบครัวของเรา น้องโย่งอายุแค่ 20 ปีเท่านั้นเอง แล้วก็ไม่เคยมีอาการบ่งบอกมาก่อนเพราะน้องโย่งสุขภาพดีมาก ตัวสูงใหญ่ สูงจนแม่คิดว่าเค้าจะสูงเกินสองเมตรด้วยซ้ำ แต่ตัวเค้าเองซะอีกที่อยากสูงเกินสองเมตร ตอนที่น้องมีอาการไอมากๆ จนต้องไปพบหมอ เราก็ไม่เคยคิดว่าจะเป็นโรคนี้ พอรู้เรื่องก็แอบจับมือกันอยู่ใต้โต๊ะสองคนแม่ลูก ส่วนคุณหมอก็แนะนำว่าให้รีบทำคีโมโดยด่วน เพราะเป็นมะเร็งที่รักษาหายได้ 90% เราก็เลยมีความหวังว่าเราจะเป็น 1 ใน 90 นั้นด้วย ตอนนั้นเรามั่นใจมาก”

แต่ก่อนที่น้องโย่งและ
ครอบครัวจะได้รับข่าวร้ายและเผชิญหน้ากับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น แม่หทัยภรณ์เล่าว่าน้องโย่งเป็นเพียงเด็กผู้ชายช่างเอาใจแม่ และไม่เคยทำให้แม่และคนในครอบครัวผิดหวังเลยแม้แต่เรื่องเดียว


ลูกโย่งกับคุณพ่อ


“น้องโย่งเป็นคนอ่อนโยน อ่อนหวานมากค่ะ เห็นเป็นเด็กผู้ชายแบบนี้ใครๆ ก็อาจจะคิดว่าต้องเกเรบ้าง แต่น้องโย่งไม่เกเรเลย เชื่อฟังที่แม่บอกตลอด ไม่เคยขัดใจแม่เลยสักครั้ง มีแต่แม่เอาที่ขัดใจเค้ามาตลอด อย่างเค้าอยากเรียนศิลปะเพราะเค้าชอบวาดรูป ช่างจินตนาการ แต่แม่อยากให้เค้าเรียนหมอเพราะที่บ้านเราเป็นหมอ เค้าก็เรียนตามใจแม่ ตอนเค้าป่วยแม่ถึงเพิ่งมาเข้าใจว่าจริงๆ แล้วน่าจะให้เค้าได้ทำอะไรอย่างที่อยากทำมาตั้งแต่แรกหากเรารู้ว่าเค้ามีเวลา8น้อยแบบนี้ ตอนเค้าป่วยอยู่แม่ยังบอกเค้าเลยว่า ถ้าโย่งหายได้แม่จะไม่บังคับอีกแล้ว อยากเรียนอะไรแม่จะให้เรียน น้องโย่งดีใจมากเลยนะ ยังถามย้ำเลยว่า จริงๆ เหรอ ให้เรียนอะไรก็ได้จริงๆ เหรอ เค้าดีใจแต่แม่เองกลับรู้สึกเจ็บปวดมาก เพราะเค้ายังป่วยอยู่และไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นเลย” 


วันที่ทั้งครอบครัวต้องสู้ไปด้วยกันกับความเจ็บป่วยของลูกชายคนโตที่เป็นความหวังของทุกคนในบ้าน แม่หทัยภรณ์ไม่ได้มีแค่เพียงกำลังใจในฐานะคนเป็นแม่ที่จะคอยอยู่เคียงข้างลูกทุกวินาทีของความเจ็บป่วยเท่านั้น แต่คุณแม่ยังใช้ธรรมะซึ่งเป็นธรรมะโอสถชั้นเอกช่วยประคองทั้งตัวเองและลูกชายให้ก้าวผ่านความกลัวไปด้วยกัน


“รู้ไหมว่าแม่พาน้องโย่งเข้าวัดตั้งแต่เด็กเลย ตอนสวดมนต์อยู่ที่บ้านก็จะเรียกเค้ามานั่งสวดมนต์กับเรา ตอนไปวัดก็จะพาไปด้วย ไปทำบุญ ไปนั่งธรรม นั่งสมาธิ ปกติเด็กผู้ชายเค้าไม่ไปกันหรอก แต่น้องโย่งไปเพราะเกรงใจแม่ ไม่อยากขัดใจ แต่พอไปเค้าก็ไปนั่งข้างหลังแม่ตลอด เค้ามาเล่าให้ฟังทีหลังว่า แม่รู้มั้ยว่าที่เค้านั่งข้างหลังน่ะ เค้าใส่หูฟังฟังเพลงตลอดเลย เด็กคนอื่นๆ ที่พ่อแม่พาไปเหมือนกันก็ทำแบบเดียวกัน แม่ฟังแล้วก็ขำๆ แต่รู้ไหมว่าการที่แม่พาน้องโย่งไปวัดบ่อยๆ มันได้ผล เพราะเค้าจะค่อยๆ ซึมซับโดยไม่รู้ตัว และเห็นแบบนั้นแต่เค้าเข้าใจธรรมะได้มากกว่าคนวัยเดียวกับเค้ามากๆ เลย


วันที่เค้าป่วย น้องโย่งกำลังใจดีมาก เพราะเค้าคิดว่าเค้าต้องหาย แล้วแม่ก็จะพูดเรื่องธรรมะให้เค้าฟังตลอด คนเราเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปตามธรรมชาติ ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า เพียงแต่เราอาจจะไปก่อนคนอื่นเท่านั้น แม่เคยถามเค้าว่า กลัวมั้ย เค้าก็ย้อนถามแม่ว่าความตายน่ะเหรอ เค้าบอกว่า ไม่กลัวเพราะมันยังมาไม่ถึง ได้ยินแล้วแม่ก็ทั้งดีใจและเสียใจไปพร้อมๆ กัน ดีใจที่เค้ากล้าหาญ ยอมรับธรรมชาติและธรรมะได้มากขนาดนี้ และก็แอบเสียใจที่เค้ามีเวลาน้อยเหลือเกิน หลายครั้งที่อยู่คนเดียวแม่ก็จะร้องไห้เพราะร้องต่อหน้าเค้าไม่ได้ อยู่ต่อหน้าเค้าแม่ต้องแจ่มใส ต้องไม่ทำให้เค้าเป็นกังวล และทุกคนในบ้านก็จะเป็นแบบนี้คือจะเลี่ยงไม่พูดเรื่องความเจ็บป่วยหรือเรื่องไม่สบายใจเลย จะพูดกันแต่เรื่องอื่น ซึ่งนั่นก็ช่วยได้ดี ทำให้เรามีกำลังใจ”

เล่ามาถึงตรงนี้ แม่หทัยภรณ์หยุดคิดถึงเรื่องที่ผ่านมาของน้องโย่งว่าครั้งหนึ่งเคยมีลูกชายที่แสนดีคอยอยู่เคียงข้างและสร้างความสุขให้กันเสมอ ในวันนี้ที่ลูกชายหลับสนิทไปแล้วแต่หัวใจของคนเป็นแม่ไม่เคยที่จะหยุดรักและคิดถึงลูกแม้จะไม่ได้อยู่ด้วยกันในภพภูมินี้ แต่ความทรงจำดีๆ และความรักคงไม่สูญไปเช่นเดียวกับเนื้อหนังที่เป็นของนอกกาย 


“บางครั้งแม่ก็ยังเสียใจอยู่มากทุกครั้งที่คิดถึงน้องโย่ง เพราะบางทีลูกๆ ของเพื่อนแต่งงาน หรือรับปริญญา เค้าจะเชิญแม่ไปร่วมงานด้วย พอได้เห็นแบบนั้นก็อดไม่ได้ที่จะกลับมาคิดถึงตัวเราว่า ถ้าวันนี้น้องโย่งยังอยู่ แม่คงจะได้เห็นภาพแบบนี้เหมือนกัน คงได้เห็นน้องโย่งรับปริญญา ได้เห็นเค้าประสบความสำเร็จ แต่วันที่น้องโย่งหลับไปอ้อมแขนแม่ แม่ก็ดีใจที่เค้าไปสบายแล้ว ไปดีกว่าเรา ไม่ทรมานอีกแล้ว” 


น้ำตาของผู้เป็นแม่รินไหลระคนไปด้วยความเจ็บป่วยที่คงไม่อาจมีใครเข้าใจหากไม่เผชิญกับสิ่งนี้ด้วยตัวเอง และถึงตอนนี้สิ่งที่แม่หทัยภรณ์และครอบครัวรู้สึก คงเป็นการยืนยันถึงประโยคก่อนหน้านี้ได้ชัดเจนว่า คงไม่มีทุกข์ใดของพ่อแม่ยิ่งใหญ่ไปกว่าความทุกข์ทรมานที่ได้เห็นลูกหลับแบบไม่มีวันตื่น 


แม่หทัยภรณ์อนุญาตให้เรานำข้อความในหนังสือ ‘ส่งลูกไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า’ ซึ่งเป็นหนังสือที่ถ่ายทอดเรื่องราวของน้องโย่งตลอดเวลาที่เจ็บป่วย และจากโลกนี้ไปพร้อมกับธรรมะ มาบอกเล่าให้หลายๆ คนได้รู้ซึ้งถึงความรักของแม่อย่างชัดเจนที่สุด 

“ช่วงหลังๆ ลูกจะเหนื่อยง่ายจนแม่ต้องช่วยแม้กระทั่งอาบน้ำ วันนี้ก็เช่นกันเมื่อเตรียมเสื้อผ้า   และช่วยลูกอาบน้ำ ผู้เป็นลูกก็พูดว่า ‘หม่าม้าครับ ผมทำให้หม่าม้าลำบาก ขอโทษครับ’แม่ไม่กล้าที่จะร้องไห้ จึงแสร้างทำเป็นเรื่องตลก เพื่อให้ลูกคลายกังวล แต่ในความตลกนั้นมีความจริงบางอย่างซ้อนอยู่ ลำบาก อะไรกันลูก ดูซิหม่าม้าทำได้ หม่าม้ามีความสุขสัจธรรมที่เค้าพูดกันว่า แม่คนเดียวเลี้ยงลูกหลายคนได้ แต่ลูกคนเดียวเลี้ยงแม่คนเดียวไม่ได้ตอนอาม่าป่วย หม่าม้าจ้างคนมาดูแล ให้คนงานอาบน้ำ ป้อนข้าว ให้คนงานทำทุกอย่างแทนที่จะทำเอง บางครั้งก็ปล่อยให้อาม่าอยู๋กับคนงาน แต่พอถึงคราวลูกป่วยบ้าง คนงานขอทำหม่าม้าไม่ยอมให้ทำ หม่าม้ามีความสุขที่จะทำให้หนูเอง เหมือนลูกเมื่อตอนเล็กๆ ความรักเหมือนกันแต่ต่างกันมากเลย”
 

“พระพุทธเจ้าเจ้าขา ถ้าถึงเวลาที่ลูกชายของลูกจะได้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์แล้ว ขอพระพุทธองค์ได้โปรดเมตตามานำพาขาไปอย่างสงบด้วยเถิดหลังจากนั้นถึงจุดธูป บอกกล่าวเจ้าที่ ถ้าลูกหนูต้องไปเฝ้าพระพุทธองค์แล้ว ขอท่านเจ้าที่ได้โปรดเมตตาพาลูกหนูไปเข้าเฝ้าพระพุทธองคืด้วยเถิดเมื่อป่า ป๊ามาถึง ก็ถามลูกว่าจะโทรฯ ลาใครไหมลูก เค้าโบกมือช้าๆ แล้วแม่จึงเปิดบทสวดมนต์ที่เคยให้ แล้วบอกลูกว่า หม่าม้าเช็ดตัวให้นะลูก เช็ดให้สะอาดที่สุด ทาแป้งและบอกว่า หม่าม้าเปลี่ยนชุดนักศึกษาให้นะ ลูกรักมหาลัยมาก ใส่ชุดนักศึกษานะลูก ลูกมองแม่แล้วน้ำตาไหล ลูกกำลังจะจากบุคคลผู้เป็นที่รักไปแล้ว จากทุกคนที่ร่วมภพชาติของเค้า ย่อมมีความอาลัยเป็นธรรมดา เพียงแต่ลูกเก่ง เข้มแข็ง เพราะเตรียมใจมานาน จึงเป็นเพียงชั่วขณะที่แม่เอาผ้าซับน้ำตาให้แล้วพูดว่า อย่าร้องไห้ลูก ลูกกำลังจะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ไม่ต้องห่วงหม่าม้า ป่าป๊า น้อง ทุกคนดูแลตนเองได้ ลูกคิดถึงบุญกุศลที่เราร่วมกันทำมานะลูก แม่แต่งตัวให้ลูกไป ปากก็พูดย้อนถึงบุญที่เคยทำมาร่วมกัน ยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งสุดท้าย ภาวนาไปเรื่อยๆนะลูก หม่าม้ากับป่าป๊าช่วยกันแต่งตัวให้ลูก เมื่อสะอาดเรียบร้อย ก็กอดลูกไว้แนบอก จนกระทั่งลูกหลับไปกับอกของแม่ หลับอย่างสงบ ไม่มีอาการทรมาณ ทุรนทุราย แม้แต่น้อย หลับนะลูก หลับให้สบาย ลมหายใจที่แม่ส่งให้ยามลูกเกิดได้ยุติลงแล้ว เป็นการส่งลมหายใจสุดท้ายให้ลูกกลับคืนสู่สุคติภายในอ้อมกอดด้วยสองมือแม่ โดยแท้”


ในขณะเดียวกันแม่หทัยภรณ์ก็ยังคงใช้ธรรมะหล่อเลี้ยงจิตใจอยู่เสมอ และให้แง่คิดที่หลายคนอาจจะไม่เคยรู้และไม่เคยคิดว่าจะสามารถเกิดขึ้นได้จากการจากไปของลูกชายคนดี

“ทุกวันนี้แม่จะต้องขอบคุณน้องโย่งด้วยซ้ำที่เค้านำสิ่งดีๆ มาให้แม่ ตอนเค้ามีชีวิตอยู่ เค้าไม่เคยทำให้แม่ผิดหวัง ไม่เคยทำให้เสียใจหรือทุกข์ใจเลย แต่วันที่หลับไปแล้วน้องโย่งทำเรื่องดีๆ ให้แม่ด้วยการดึงแม่เข้าหาพระพุทธศาสนามากขึ้นกว่าเดิมมาก น้องโย่งเป็นผู้ที่นำกัลยาณมิตรมาให้แม่ตลอดเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่แม่เขียนหนังสือเรื่องก็มีแต่คนดีๆ เข้ามาหา ชักชวนกันไปทำบุญ แม่ก็ไม่เคยคิดว่าเรื่องราวนี้จะสร้างแรงบันดาลใจให้ใครได้ แต่เคยมีหลายๆ คนที่ได้อ่านแล้วโทรศัพท์มาเล่าให้ฟังว่า แต่ก่อนลูกเคยเกเรพอให้อ่านหนังสือเล่มนี้เค้าก็ดีขึ้น ไม่เกเรเหมือนก่อน คนที่เคยคิดจะฆ่าตัวตายได้อ่านเค้าก็คิดได้ เพราะชีวิตมันสั้นนัก คนที่อยากใช้ชีวิตกลับไม่ได้ใช้ แล้วเราที่สามารถอยู่ทำอะไรได้นานกว่า สร้างสิ่งดีๆ ได้ก็ไม่ควรคิดสั้น รายได้จากหนังสือแม่ก็เอาไปทำบุญทั้งหมด ทุกวันนี้แม่มีเพื่อนดีๆ เยอะมากซึ่งมาจากการที่น้องโย่งพาพวกเค้ามาให้แม่”

วันนี้แม้น้องโย่ง ลูกชายคนดีจะไม่ได้อยู่พาแม่ไปทำบุญฟังธรรม ไม่ได้อยู่ให้แม่ได้ชื่นชมในความสำเร็จที่จะเกิดขึ้น ไม่ได้อยู่สร้างความทรงจำดีๆ ด้วยกันต่อไปอีก แต่แม่หทัยภรณ์ยังคงมีภาพของลูกชายคนดีที่แม้จะมีเวลาให้แม้ชื่นใจเพียงน้อยนิด แต่กลับเป็นความชื่นใจที่หาที่ไหนไม่ได้อีกแล้วในโลกนี้ เพราะทุกวินาทีที่ได้เคยได้ด้วยร่วมกัน นั้นคือความภาคภูมิใจที่สุดแล้ว

“ทุกวันนี้แม่ยังเสียดายที่ไม่เคยบอกเค้าว่าแม่ภูมิใจในตัวเค้ามากแค่ไหน และถ้าบอกเค้าได้แม่จะบอกว่า แม่ภูมิใจน้องโย่งในทุกๆ เรื่องเพราะลูกเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่เกิดขึ้นในชีวิตแม่”

ขอบคุณเวป : http://www.momypedia.com










วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

ธรรมะจาก สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก



หัวใจพระพุทธศาสนา

หัวใจพระพุทธศานา ๓ ประการ
ที่โปรดประทานไว้เป็นหลักประกาศพระพุทธศานา
คือ การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำกุศลให้ถึงพร้อม
และการชำระจิตของตนให้ผ่องใส
และ ธรรมะหมวดอื่นที่ทรงสอน เช่น
ศีล สมาธิ ปัญญา หรือ ทาน ศีล ภาวนา
ล้วนแสดงให้เห็นประจักษ์แจ้งว่า..
พระพุทธเจ้าทรงมีพระมหากรุณา
และพระปัญญาใหญ่ยิ่งจริงแท้
และทรงแสดงไว้แจ้งชัดในพระพุทธศานา.



พระพุทธองค์ผู้ยิ่งด้วยพระปัญญาคุณ

ทุกคนมีการกระทำ มีคำพูด
เป็นเครื่องแสดงออกของจิตใจ
ใจเป็นเช่นไร..
การกระทำและคำพูดจะเป็นเช่นนั้น
พระพุทธศานาเป็นการกระทำของพระพุทธเจ้า
จึงเป็นเครื่องแสดงพระพุทธหฤทัยอย่างชัดเจน
เป็นเครื่องรองรับพระพุทธประวัติว่าเป็นจริง
ดังแสดงเรื่องราวไว้ต่างๆ ที่ล้วนทรงยิ่งด้วยพระคุณ
ทั้งพระปัญญาคุณ พระกรุณาคุณ พระวิสุทธิคุณ.




พระผู้มีมหากรุณาคุณ

ในพระประวัติของพระพุทธเจ้า มีกล่าวแสดงไว้ว่า
เหตุเพราะได้ทอดพระเนตรเห็นความทุกข์
ของคนแก่ คนเจ็บ คนตาย จึงทรงมีพระมหากรุณา
ปรารถนาจะช่วยมิให้มีผู้ต้องได้รับความทุกข์เช่นนั้นต่อไป
จึงทรงตัดพระหฤทัยสละความสูงส่ง
ความสมบูรณ์บริบูรณ์ทุกประการที่ทรงเสวยอยู่
เสด็จออกทรงเผชิญความทุกข์ยากนานาประการ
เพื่อแสวงหาทางที่จะทรงสามารถ
นำไปสู่ความพ้นทุกข์ของสัตว์โลกทั้งปวง
พระพุทธศาสนามีจุดเริ่มเกิดที่ตรงนี้
ตรงที่ทรงมีพระมหากรุณาอย่างบริสุทธิ์แท้จริงต่อสัตว์โลก
 ไม่มีความกรุณาของผู้ใดเปรียบได้
ผู้นับถือพระพุทธศาสนาจึงควรดำเนินตามพระพุทธองค์.





โดย. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
จากหนังสือ. แสงธรรม ส่องใจ๑
พร อันประเสริฐ ความดีย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม.








ไม่มีอะไรเป็น "ของฉัน"



ไม่มีอะไรเป็น "ของฉัน" มันก็ไม่ทุกข์


อากาศตอนนี้ญาติโยมก็บ่นว่าร้อนๆ ไปตามๆกัน 
ซึ่งความจริงมันก็ร้อนนั่นแหละ เหงื่อไหลไคลย้อยตลอดวัน 
แต่ว่าความร้อนนี่มันก็ไม่เที่ยง 
คือ ไม่เท่าใดก็หมดร้อน แล้วก็ถึงหน้าฝนต่อไป 
เพราะอันนี้มันเป็นเรื่องของธรรมชาติของดินฟ้าอากาศ 
เราจะไปเปลี่ยนแปลงไม่ได้ 
เราก็ต้องทนอยู่กันไปตามเรื่องตามราวจนกว่าจะหมดเรื่องนั้นไป 
การที่จะ อยู่ได้ตามปกตินั้น 
จะต้องหมุนจิตใจของเราให้เข้ากับสิ่งที่เกิดอยู่เป็นอยู่ 
คือให้พอใจแค่นั้นเอง 
ถ้าพอใจแล้วมันก็ไม่มีอะไร 
ถ้าไม่พอ ใจแล้วก็เกิดความเดือดร้อน


เคยพบพระองค์หนึ่งนั่งอยู่ในห้อง เหงื่อท่วมตัว 
อาตมาก็ไปถามว่าไม่ร้อนหรือ 
ท่านก็บอกว่ามันเรื่องธรรมดา ท่านตอบว่าอย่างนั้น 
แล้วท่านนั่งทำงานไปตามปกติ 
ไม่รู้สึกว่ากระวนกระวาย จิตใจมันเป็นปกติ 
เหงื่อมันออกมาเป็น เรื่องของร่างกาย 
แต่ว่าใจนั้นไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง 
นั่งทำงานได้ปกติตลอดเวลา 
อันนี้แสดงว่าท่านผู้นั้นรู้จักหมุนจิตใจต้อนรับสถานการณ์นั้น 
แล้วก็ไม่เป็นทุกข์เพราะเรื่องนั้น


คนเราจะอยู่ที่ใดก็ตาม เราควรจะอยู่ให้เบาใจสบายใจ 
อย่าอยู่ให้มีความทุกข์ความหนักใจ 
เพราะเมื่อมีความหนักใจขึ้นเมื่อใดแล้ว 
เราก็ไม่สบายทั้งกายทั้งใจ 
ถ้าเราไม่มีความหนักใจ 
แม้ว่าร่างกายเราจะหนักเพราะการเปลี่ยนแปลง 
แต่ตัวเราก็ไม่มีความทุกข์ความเดือดร้อนเพราะเรื่องอย่างนั้น 
อันนี้แหละเป็นเรื่องสำคัญ


คราวหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าถูกพระเทวทัตทุ่มหินลงมา 
แต่ว่าหินนั้นไม่ถูกพระองค์ เพราะไปชนต้นไม้ 
สะเก็ดนิดหนึ่งมากระทบถูกพระชงฆ์ 
คือ หน้าแข้งของพระพุทธเจ้า เลือดไหลซิบๆ ออกมา 
หมอโกมารภัจจ์ก็ทำยาไปปะแผลให้ยาที่ปะนั้นเป็นยาร้อน
ก็คล้ายๆ กับทิงเจอร์ที่เราใช้กัน 
แต่ว่าใช้ใบไม้ประเภทหนึ่ง เอามาพอกไว้ 
แล้วหมอก็กลับบ้าน หมอก็นอนไม่หลับตลอดคืน มีความเป็นห่วง 
เพราะนึกในใจว่า ยาที่พอกนั้นเป็นยาที่ร้อน 
พระผู้มีพระภาคคงจะไม่ได้บรรทม 
เพราะความร้อนของยาที่ผิวหนัง 
ตื่นแต่เช้ามืดมาเฝ้าดูพระผู้มีพระภาคเจ้า 
แล้วก็ถามไปด้วยอาการร้อนรนกระวนกระวายใจว่า 
“เมื่อคืนนี้พระองค์บรรทมหลับเป็นปกติหรือเปล่า” 
พระผู้มีพระภาคกลับตอบว่า 
“เราบรรทมหลับเป็นปกติ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น” 
หมอก็บอกว่า “ข้าพระองค์นอนไม่หลับเมื่อคืนนี้ 
เพราะมีความกังวลที่ยาปะแผลของพระองค์ว่ามันร้อน” 
พระผู้มีพระภาคกลับตรัสตอบแก่หมอนั้นว่า
“ความร้อนทั้งหลายเราได้ดับมันหมดแล้วที่ใต้ต้นโพธิ์ที่ตรัสรู้ 
เวลานี้ความร้อนเหล่านั้นไม่มี ท่านจึงไม่ต้องเป็นห่วง 
ไม่ต้องมีความทุกข์ในเรื่องเกี่ยวกับความร้อนต่อไป” 
อันนี้เป็นเครื่องแสดงถึงด้านความสงบเย็นของจิตใจ
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า 
พระองค์ไม่มีความร้อน มีแต่ความสงบเย็น 
ความร้อนนั้นได้ดับไปตั้งแต่
วันตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณที่ใต้ต้นโพธิ์แล้ว 
ต่อจากนั้นก็ไม่มีความร้อนอะไร 
จะนั่งอยู่ในที่ร้อนก็ไม่ร้อน จะนั่งอยู่ในที่เย็นก็ไม่เย็น 
จะอยู่ในที่ใดก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นในจิตใจของท่าน


อันนี้เป็นเรื่องพิเศษที่จะเกิดมีเฉพาะบุคคล
ที่มีจิตหลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง 
หรือพ้นแล้วจากการยึดมั่นถือมั่นในเรื่องตัวเรื่องตน 
ที่เราเรียกในภาษาธรรมะว่า “อัตตวาทุปาทาน” 
คือ การยึดมั่นถือ มั่นในตัวฉันในของของฉัน 
ถ้ายังมีความยึดมั่นอยู่ตราบใด 
ความทุกข์ก็ยังมีอยู่ ความร้อนก็ยังมีอยู่ 
อะไรๆ ที่มันเกิดขึ้นตามธรรมชาติ มันก็มีอยู่กับผู้นั้น 
แต่ว่าถ้าถอนความยึดมั่นถือมั่นได้เมื่อใด 
สิ่งเหล่านั้นมันก็ไม่มี 
มันมีของมันอยู่ตามธรรมชาติไม่ใช่ว่าไม่มี 
แต่ว่าจิตไม่ได้เป็นทุกข์เพราะเรื่องนั้น 
เช่น ว่าความร้อนทางกายก็มีอยู่ เจ็บปวดมันก็มีอยู่ 
แต่ว่าจิตไม่ปวดในเรื่องนั้น ไม่ได้เจ็บไปกับเรื่องนั้น 
ดูอาการมันเฉยๆ ไม่มีปฏิกิริยาเกิดขึ้นในใจ 
อันนี้เป็นเรื่องของจิตใจล้วนๆ...


แต่ว่าจิตของพระอริยเจ้านั้น ท่านไม่มีเหมือนเรา 
จิตท่านแตกต่างจากเรา 
เพราะท่านปฏิเสธหมดแล้ว ไม่มีอะไรเป็นของท่าน 
อะไรๆ มันเกิดขึ้นท่านก็เฉยๆ คล้ายๆกับเรื่องอย่างนี้ 
เหมือนกับว่ามีอะไรของใครเขาหาย 
เราไม่ได้เป็นทุกข์กับเขา 
เช่นว่า คนหนึ่งเขามีของหายไป เรารู้เราก็เฉยๆ 
ที่เฉยๆ ก็เพราะว่าของนั้นมันมิใช่ของเรา 
บ้านคนอื่นถูกไฟไหม้อยู่ห่างไกลจากบ้านเรา 
เราก็ไม่ได้เป็นทุกข์ ไม่ได้เดือดร้อนใจ 
ที่ไม่ได้เป็นทุกข์ก็เพราะว่า
เราไม่ได้นึกว่าเป็นบ้านของเราอยู่นั่นเอง 
แต่ถ้าว่าบ้านของเราถูกไฟไหม้ 
เราก็ร้อนอกร้อนใจมีความทุกข์ความเดือดร้อน 
ความทุกข์ความเดือดร้อนตัวนี้เกิดขึ้น
เพราะจิตเข้าไปยึดถือว่าเป็นบ้านของฉัน 
เงินทองของฉัน อะไรๆ ของฉัน 
พอเอาคำว่า “ของฉัน” เข้าไปใส่ไว้ไม่ว่าในเรื่องอะไร 
ความทุกข์มันก็เกิดขึ้นทันที เพราะเรื่องเข้าไปยึดถือในสิ่งนั้น 
อันนี้แหละเป็นเรื่องที่มีอยู่
ในจิตใจของมนุษย์ทุกคนที่เราพอมองเห็นได้ 
คือมองเห็นได้ว่า ถ้าเมื่อใดใจเราปล่อยวางเสียได้ 
เราก็สบายใจ แต่เมื่อใดเรา เข้าไปยึดถือมันไว้ 
เราก็มีความทุกข์มีความเดือดร้อนใจ


อันนี้สังเกตได้ง่าย ขอให้เราสังเกตคือการศึกษาธรรมะน่ะ 
เรารู้หลักทางหนังสือแล้วต่อไป
ก็ต้องเอามาค้นคว้าจากพฤติการณ์ของเราเอง 
จากความคิด จากการกระทำของเรา 
แล้วคอยสังเกตว่า เวลาที่เกิดทุกข์นี่มันทุกข์เพราะอะไร 
เวลาทุกข์ที่หายไป มันหายไปเพราะอะไร 
เพื่อจะค้นหาสมุฏฐานของความทุกข์ที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของเรา 
ถ้าหากเราสังเกตจะพบว่า 
สิ่งที่ทำให้เราเกิดความทุกข์นั้น ก็คือการยึดมั่นถือนั่นเอง 
เราจึงเรียกว่า “อุปาทาน” ตามภาษาธรรมะ 
พอมีอุปาทานขึ้นมาเมื่อใด ใจมันก็ไปติดอยู่กับสิ่งนั้น 
ไปยึดอยู่กับสิ่งนั้น พอสิ่งนั้นเปลี่ยนแปลงไป 
ไม่เหมือนใจไม่สมใจเราก็มีความทุกข์ขึ้นมาทันที


อันนี้เป็นเครื่องชี้อยู่ในตัวแล้วว่า 
เราเป็นทุกข์เพราะ มีความยึดมั่นถือมั่น 
ถ้าจะไม่ให้เกิดทุกข์ก็ต้องผ่อนคลาย 
ความยึดมั่นถือมั่นออกไปจากใจของเราเสียบ้าง


ที่มา...ASTV ผู้จัดการออนไลน์
เรียบเรียงจากส่วนหนึ่งของปาฐกถาธรรม วันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๐) 
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 113 เมษายน 2553 
โดย พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) 
วัดชลประทานรังสฤษฎ์ จ.นนทบุรี)

" ไม่หลง ไม่ยึด ไม่ติด.... "โดยหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ





ปัญญาที่แท้จริงทำให้ไม่หลงยึดติด....

ความติดนี่มันเป็นทุกข์...เมื่อไม่ติดมันก็ไม่เป็นทุกข์ 

เรามีอะไร เราใช้อะไร โดยไม่ต้องติดจะได้หรือไม่...ได้
พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าได้ ใช้โดยไม่ติด รับโดยไม่ติดในสิ่งนั้น
เราทำอย่างไร....? เราก็....ใช้ปัญญาพิจารณาไว้ให้รู้ว่า...

รูป...นั้นคืออะไร ?
รูป...นั้นเป็นของจริงแท้หรือไม่ ?
เสียง...มันมีจริงมีแท้ไหม ?
หรือมันเป็นเพียงแต่ลมผสมกันเข้ากับความอยากในจิตใจ
เปล่งเสียงออกมาเป็นคำด่าคำชมคำติว่าอะไรต่างๆ...
แล้วมันคงทนถาวรหรือเปล่า...มันก็หายไป

เสียงพูดเข้าไมโครโฟนแล้วมันก็หายไป พอหยุดพูดมันก็ไม่มี
เสียง พอพูดต่อเสียงมันก็มาต่อไป...'เสียง' ไม่ได้เกิดก่อน
หรือเกิดหลังการพูด แต่มันเกิดพร้อมกันพอพูดปุ๊บ
มันก็เข้าไปในไมโครโฟนทันที 
แล้วเข้าเครื่องออกไปเป็นเสียงดังฟังทั่ววัด...

เสียงนั้นมันไม่ใช่ของแท้ มันเป็นของผสมปรุงแต่งจึงเกิด
เป็นเสียงขึ้น ถ้าเราฟังว่ามันดี...ก็อย่าไปยึดถือ
ไม่ดี...ก็อย่าไปยึดถือ อย่าไปยินดีในเสียงนั้น 
อย่าไปยินร้ายในเสียงนั้น ให้มีปัญญารับด้วยปัญญา...
ก็คือรับว่าเสียงนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา แต่เสียงนี้เป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ ถ้าเราเข้าไปยึดทุกข์ไหม ? ถามตัวเองอย่างนั้น

ถ้าเรามีปัญญาก็ตอบว่า ไม่ควรจะเข้าไปยึดถือเสียงนั้น...
แต่ควรรู้จักมันไป ดูมันไป มันเคลื่อนไหวไปในทางไหน
เราก็ดูตามมันไป เหมือนเราแอบดูผู้ร้ายเข้าบ้านแอบดูไว้ว่า
มันไปทางไหน...มาทางไหน แล้วก็แอบโทรฯ ไปบอกตำรวจ
ตำรวจก็จับเอาไป เรามีสติปัญญาก็ใช้อย่างนั้น...
คอยกำหนดมันไว้ว่าอะไรเกิดขึ้น...

'ตา'...เห็นรูป เกิดความรู้สึกทางตา แล้วก็เกิดอะไรต่อไป
ตามลำดับจนเกิดความยึดมั่นในสิ่งนั้น นั่นเป็นความผิด
จะเพิ่มความทุกข์ให้แก่ตัวเราเอง เราก็ไม่ยึด...

แต่ว่าเรารู้ว่ามันคืออะไร...
มองตลอดสายสายตั้งแต่ต้น...กลาง...ปลาย
รู้หมดว่ามันคืออะไร...มันจะทำอะไรให้เกิดขึ้น ก็ปล่อยให้
มันเกิดไปตามเรื่อง ดับไปตามเรื่องของมัน 
เราอย่าไปเก็บไว้ อย่าไปกักไว้....ฯ



วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

** ทุกข์ หรือ สุข มีค่าเท่ากัน **



“ผู้ใดยึดในทุกข์ ก็จะประดุจโดนงูเห่ากัด
ผู้ใดยึดในสุขก็เสมือนจับงูเห่าข้างหาย
และจะโดนมันแว้งกัดเอาในภายหลัง”





ดังนั้น ความสุขกับความทุกข์ อารมณ์ชอบใจกับไม่ชอบใจนั้น จึงมีค่าเท่ากัน ถ้าหลงยึดเข้าแล้วก็ให้โทษแก่เราเหมือนๆ กัน เมื่อเราคุ้มครองจิตโดยอาศัย สติดี สัมปชัญญะดี ความพากเพียรถูกต้อง พรั่งพร้อมด้วยความเกรงกลัว ความละอายต่อบาป และความอดทนอดกลั้น
ต่ออารมณ์ที่รุนแรงแล้ว เราย่อมจะเป็นผู้อยู่เหนืออารมณ์ ด้วยจิตที่รู้ ตื่น และเบิกบาน รู้ว่า โลกธรรม ๘ เกิดขึ้นแล้วก็จะดับไป โดยที่ใจของเราไม่เกิดความหวั่นไหวคล้อยตามไปด้วย เปรียบเหมือนเราอยู่ในบ้านที่ปลอดภัย และอบอุ่น ไม่ว่าโลกภายนอกจะเป็นอย่างไร ฝนจะตกหรือแดดจะออก อากาศจะร้อน หรือหนาว บรรยากาศจะสงบนิ่งหรือมีพายุจัดเราเพียงแต่มองดูความเป็นไปจากทางหน้าต่างเท่านั้น
โลกธรรมที่เกิดขึ้นกับเราก็เหมือนธรรมชาติ เหมือนลมฟ้าอากาศ เป็นสิ่งไม่อยู่ในอำนาจการควบคุมของเรา เราทำได้แต่เพียงพิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริง แล้วปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติอย่างนั้น
แต่บางครั้งบ้านของเราก็เกือบจะพังเหมือนกัน เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา ได้รับทุกข์ บางครั้งเราก็ถูกกระทบจากสิ่งเหล่านี้อย่างรุนแรง แต่เราก็ต้องอดทน และให้เวลาเป็นเครื่องแท้แม้จะเกิดความฟุ้งซ่านวุ่นวาย ความเดือนร้อนใจเพียงใดก็ตามให้ตั้งสติ พิจารณาทบทวนความคิดของตัวเองให้ถูกต้อง





ที่มา. หนังสือ ๓๖ พรรษาพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
โดย. พระอาจรย์มิตซูโอะ คเวสโก 
เรื่อง – ภาพ จากอินเทอร์เนต