วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

** คิดดีให้กันวันละนิด



คิดดีให้กันวันละนิด
โดย น.พ.พันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์


มีคนถามเสมอๆ ว่า ทำอย่างไรครอบครัวจึงจะอบอุ่น
มีความรักให้แก่กัน ปรองดองสมัครสมานกลมเกลียว
เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
คำตอบนั้น ง่ายมาก...รักกันซิคุณ !! แต่...

...คำว่ารักนั้น แม้ว่าบางครั้งจะเหมือนสัมผัสได้
แต่บางครั้งก็เลือนหายไป
โดยไม่สามารถที่จะตามหาพบเช่นกัน
ที่จริงแล้ว แม้ว่าความรักจะเป็นอารมณ์ที่อยู่เหนือเหตุผล
แต่อารมณ์รักนั้นเมื่อเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมจะทำให้ผู้ที่ตกอยู่ในห้วงของอารมณ์รักมีความสุข

...เช่นเดียวกับการมีอารมณ์ดีที่ทำให้ชีวีเป็นสุข

คนเราทุกคนอยากจะให้คนรอบข้างรัก...
โดยเฉพาะคนใกล้ตัว แต่ถ้าอยากจะให้คนรอบข้างรัก
ก็ต้องให้ความรักพวกเขาก่อน

จะมีความรักได้ จะให้ความรักคนรอบข้างได้
ก็ต้องมีอารมณ์ดี

อารมณ์ดี อารมณ์แจ่มใส...ใจก็เป็นสุข

อารมณ์แจ่มใส ใจเป็นสุข...ใครๆ ก็อยากใกล้ชิด

อารมณ์จะแจ่มใส ใจจะเป็นสุขได้...
ก็ต้องมีความคิดในทางบวก คิดในทางสร้างสรรค์
ที่เรียกกันว่า คิดดี นั่นเอง

แท้จริงแล้ว การคิดดีนั้น
เป็นกุศโลบายที่ทำให้ตนเองเป็นสุขนั่นเอง
และเมื่อตัวเองมีความสุขเพียงพอแล้ว
ก็ย่อมคิดอยากจะให้คนอื่นเป็นสุขตามไปด้วย

ถ้าทุกคนเริ่มมองคนรอบข้างในแง่ดี
ตนเองก็จะเริ่มมีรังสีของความเมตตาแผ่ออกไป...
แทนที่จะเป็นรังสีอำมหิต

เคยลองพิจารณาตัวเองกันดูบ้างไหมว่า
ทำไมเดี๋ยวนี้คิดกันในทางร้าย คิดแต่ในแง่ร้าย
มองคนรอบข้างในแง่ลบเสมอไป

...เป็นเพราะสังคมไทยเรากำลังป่วย

ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารชนิดใดที่ออกมา
ไม่ว่าจะเป็นทางหน้าหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ
ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่เป็นข่าวไม่ดี
เป็นข่าวที่ทำให้คนได้รับข่าววิตกทุกข์ร้อน
และเมื่อชีวิตประจำวันได้รับแต่สิ่งไม่ดีเหล่านี้แล้ว
ถือเหมือนกับการสะกดจิตหรือล้างสมอง
ให้มีแต่ความคิดในทางร้าย ระแวง
ไม่เชื่อใจ สงสัย ไม่ไว้วางใจ...แม้กระทั่งคนที่อยู่ใกล้ตัวที่สุด

ลองถามตัวเองกันบ้างไหม...
ว่าคุณไว้วางใจคู่ครองของคุณมากเพียงใด

และทำไม คุณถึงไม่ไว้ใจ...ไม่คิดถึงในทางที่ดี

คำตอบง่ายมาก...เพราะสังคมของเราป่วย

สื่อมวลชนอาจจะบอกว่า
พวกเขามีหน้าที่ที่จะต้องเสนอข่าวความเป็นจริงให้ปรากฏ
และในยุคนี้ทุกอย่างจะต้องโปร่งใส...ซึ่งก็ถูกต้อง

...แต่ผิดคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า !!

พระพุทธองค์ไม่เคยตรัสอะไรที่ไม่เป็นความจริง
แต่ถ้าความจริงนั้น จะทำให้ผู้ได้รับฟัง
ได้รับความวิตกทุกข์ร้อนแล้ว พระองค์ไม่เคยตรัส

พระองค์ท่านตรัสแต่สิ่งที่ดีงาม
ที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ได้รับฟังเสมอ

คนเรานั้น ไม่จำเป็นจะต้องพูดทุกอย่างที่ตนรู้...
แต่จะต้องรู้ทุกอย่างที่ตนพูด

เราคงจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมที่ป่วยของเราได้
ภายในเวลาอันรวดเร็ว
แต่เราสามารถที่จะเปลี่ยนหน่วยที่เล็กที่สุดของสังคม
คือ 'ครอบครัวของเรา' ได้ก่อน

และเมื่อเราทุกคนทำให้ครอบครัวของเรามีแต่ความรัก
ความอบอุ่น ความผูกพันและความเข้าใจกันแล้ว
สังคมของเราก็จะเริ่มดีขึ้นจากหน่วยที่เล็กที่สุด

มาคิดดี...พูดดี และทำดี ต่อคนที่เรารักกันเถิด

ที่ควรจะเริ่มเป็นอันดับแรกก็คือ...การคิดดี
ซึ่งทำได้ไม่ยากเลย ถ้าตั้งใจว่าจะลองทำดู
และจะพยายามทำให้ความฝันกลายเป็นความจริง

1. เริ่มจากคิดดีแก่ตนเองก่อน

ให้เวลาแก่ตนเองบ้าง
ปลีกเวลาออกจากสังคมที่ป่วยบ้างเป็นครั้งคราว
โดยเฉพาะในช่วงที่เป็นวันหยุด
ไม่ว่าจะเป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ หรือวันหยุดต่อเนื่อง
ทำงานให้น้อยลงบ้าง หัดปฏิเสธงานบางอย่างบ้าง
อย่าคิดว่ามีแต่ตนเองเท่านั้นที่จะทำได้
คนอื่นเขาก็อาจจะทำได้ ถ้าเปิดโอกาสให้เขาทำ
เมื่อคุณเริ่มมีเวลาแล้วก็จะมีเวลาเพิ่มขึ้นในการจะคิดดี...
เช่น คิดดูแลตนเอง รักษาสุขภาพให้ดี ร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์
จิตใจที่แจ่มใสเบิกบาน ย่อมจะทำให้อารมณ์ดี และชีวีเป็นสุข

2. มองคนรอบข้างในแง่ดี

การมองคนรอบข้างในทางที่ดีนั้น
จะทำให้บรรยากาศที่อยู่นั้นผ่อนคลายหายเครียด
เป็นสุข ไว้ใจกัน และเข้าใจกัน
อย่าลืมว่าคนเราส่วนใหญ่
ไม่ได้อยากจะเกิดมาเป็นคนร้ายเสมอไป
ยิ่งคนใกล้ตัวของคุณแล้ว ถ้าเขาหรือเธอไม่ดี
คุณจะรับรักและมาใช้ชีวิตเป็นคู่ครองหรือ
แล้วทำไมเมื่ออยู่ด้วยกันนานไปๆ
จึงมองเห็นแต่สิ่งไม่ดีงามของกันและกัน
ตอบตัวเองได้ไหม ว่าทำไมต้องเป็นอย่างนั้น ??
ถ้าพลันคิดได้เมื่อไร ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้นมาทันทีเลย

เคยไปถามลุงป้าคู่หนึ่ง ซึ่งชอบท่องเที่ยวทัศนาจรเหมือนผมว่า
ทำไมแก่เฒ่าป่านนี้แล้ว ก็ยังรักกันอยู่หวานแว๋ว
จนหนุ่มสาวทั้งหลายที่ได้เห็น เกิดการอิจฉาริษยา
ท่านตอบว่า เพราะเราสองคนเป็นคนขี้ลืม
จำไม่เคยได้เลยว่า อีกคนทำอะไรไม่ถูกใจ
จำได้เฉพาะว่าอีกคนทำอะไรที่ถูกใจบ้าง
เมื่อเราจำได้เฉพาะความดีงามของคู่ครองแล้ว
ใจของเราก็จะเป็นสุข หน้าตาของเราก็จะแจ่มใส
และอายุก็จะยืนยาว

วันนี้คุณเริ่มต้นด้วยการคิดถึงคนรักคู่ครองของคุณ
ในทางดีสักหนึ่งอย่าง
และเพิ่มความดีนั้นไปเพียงวันละอย่าง
ตัดความคิดที่ไม่ดีออกไปวันละอย่าง
ไม่นานคุณก็จะมีคนรักคู่ครองที่คิดดีและทำดี

3. ไม่เป็นคนขี้ระแวง

...ต้องตัดความคิดเรื่องระแวงแคลงใจออกจากตัวเอง
ให้เร็วที่สุด มากที่สุด
สิ่งแรกที่คุณควรจะทำก็คือ การเลิกรับข่าวสาร
ที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อคุณออกไปให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
เลิกอ่านหนังสือพิมพ์ที่เขียนข่าวแต่ในทางร้าย
เลิกฟังวิทยุหรือชมรายการโทรทัศน์ที่ไม่ประเทืองปัญญา
แล้วยังยุแยงตะแคงรั่วให้เกิดความไม่สมานสามัคคีในสังคม...
แล้วความเป็นคนขี้ระแววของคุณจะลดลง โดยคุณไม่รู้ตัว

4. พาตัวให้ห่างคนที่คิดในแง่ร้าย

มีคำกล่าวมาตั้งแต่โบราณแล้วว่า
คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล
พยายามหลีกตัวหนีห่างจากการคบหาสมาคม
กับคนที่มองโลกในแง่ร้าย คนที่ขี้อิจฉาริษยา คนขี้ระแวง
พวกเหล่านี้เป็นกาลกิณีของชีวิต
และจะนำพาชีวิตของคุณให้ต่ำลง
จนจมไปในวังวนของการมองโลกในแง่ร้าย

จริงอยู่ เราไม่สามารถที่จะเลือกคบกับใครได้ตามใจของเรา
แต่เราสามารถที่จะเลือกคบกับใครให้สนิทใจได้
บางคนเราอาจจะคบเพียงผิวเผิน
บางคนเราก็ควรจะคบให้ลึกซึ้ง
และคนที่ควรจะคบให้ลึกซึ้ง ก็คือคนที่มองโลกในแง่ดี
และคิดทุกอย่างในทางสร้างสรรค์ ไม่เห็นแก่ตัว
และคิดดีต่อคนรอบข้าง

5. เอาใจเขามาใส่ใจเรา

เมื่อมีคู่ครองและมีชีวิตคู่แล้ว
เคล็ดลับในการครองคู่ที่สำคัญที่สุดก็คือ
การเอาใจเขามาใส่ใจเรา
อย่าเอาแต่ความคิดของตนเป็นใหญ่
พยายามคิดในทางที่ดีถึงการกระทำของคู่รักคู่ครองว่า
หนักนิดเบาหน่อยก็ให้อภัยกันในความผิดพลาด
หรือไม่ได้ตั้งใจ
อย่าพยายามทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่
แต่ต้องพยายามทำเรื่องใหญ่ให้เป็นเรื่องเล็ก
อย่าเกี่ยงกันว่า ให้อีกคนทำตามใจเราก่อน
แต่พยายามทำอะไรให้คนใกล้ตัวเกิดความประทับใจ
คิดว่าทำแบบนี้แล้วจะเกิดประโยชน์อะไรบ้างแก่กันและกัน
ไม่คิดถึงอารมณ์ของตนเองเป็นใหญ่
แต่พยายามควบคุมอารมณ์ให้แจ่มใส มองในทางที่สร้างสรรค์

6. คิดก่อนพูด

หลายต่อหลายคนที่ชีวิตคู่ต้องอับปางลง
ส่วนหนึ่งเกิดจากพูดก่อนที่จะคิด พูดด้วยอารมณ์
พูดด้วยความมันสะใจ
พูดเพราะอยากให้อีกคนได้รับรู้ถึงความโกรธแค้น
อาฆาตพยาบาท พูดส่อเสียด พูดจากประชดประชัน ฯลฯ
เหล่านั้นเรียกว่า ปากเป็นกาลกิณี ขอให้เลิกประเภท...
ปากพาไปให้เร็วที่สุด แล้วให้คิดก่อนพูด
จำไว้เสมอๆ ว่า การจะมีความรักให้ต่อกันอย่างยั่งยืนยาวนาน
ไม่จำเป็นจะต้องพูดทุกอย่างที่รู้
(ซึ่งอาจจะไม่เป็นความจริงทุกเรื่องเสมอไป)
แต่จะต้องรู้ทุกเรื่องที่จะพูดออกไปว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ฟังหรือตัวเองหรือไม่

7. อย่าใช้อารมณ์คิด

ต้องใช้ความคิดในทางที่เป็นเหตุและผล
โดยเฉพาะต้องมองเหตุการณ์ทุกอย่างในชีวิตว่า
เป็นเพราะเหตุใด
จึงเกิดผลของการกระทำนั้น และถ้าปรับเปลี่ยนบางสิ่งบางอย่างแล้ว
ต้นเหตุที่ไม่ดีงามอาจจะหายไป
และผลดีต่างๆ ก็น่าจะตามมาแทนที่
เวลาที่กำลังมีอารมณ์ไม่ดี อารมณ์ขุ่นมัว อย่าใช้ความคิด
ให้หาทางไปพักผ่อนให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย
ไม่ว่าจะไปเล่นกีฬา พักผ่อน ฟังเพลงสบายๆ
หาบรรยากาศดีๆ สงบๆ ให้เกิดความผ่อนคลาย ก็ได้ทั้งสิ้น
การใช้ความคิด ในขณะที่จิตใจสงบ ในบรรยากาศดีๆ นั้น
ความคิดที่ออกมาจะเป็นไปในทางที่ดีเสมอไป

เห็นไหมว่า แค่คิดแต่เรื่องดี...ชีวีก็จะเป็นสุขแล้ว


-----------------------------------------------------
น.พ.พันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์ : เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ 13
ฉบับที่ 627 วันที่ 7-13 มิ.ย. 2547

คัดลอกจาก : บ้านใส่ใจ
http://www.carefor.org





วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

หัวใจพุทธศาสนา



“หัวใจพุทธศาสนา สำหรับคนทั่วไปทั้งที่กำลังปฏิบัติ และที่เสร็จการปฏิบัติแล้วนั้นคือ  สัจธรรมที่ว่า “สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นโดยความเป็นตัวตน  ของตน”  ทุกคนต้องปฏิบัติสิ่งนี้  และได้รับผลของสิ่งนี้”

ที่มา. ท่านพุทธทาส ภิกขุ
        จากหนังสือ “ธรรมะ จุดประกายเพื่อความรู้เท่าทันชีวิต” โดย. ปัณณวัฒน์
        ภาพจาก. อินเทอร์เนต

"“ทำไมต้องไปหาหมอดูให้เสียเวลา"



“ทำไมต้องไปหาหมอดูให้เสียเวลา  เพราะแม้หมอจะทายว่า  “โชคดี” เราก็ยังต้องทำดีด้วยความไม่ประมาทอยู่ดี  แม้หมอทายว่า “โชคร้าย” เราก็ยังต้องทำดีด้วยความไม่ประมาทอย่างเต็มที่
 อย่างนั้นเอง  พุทธบริษัทไม่ต้องไปดูหมอให้เสียทรัพย์เสียเวลาเพราะเขารู้จักสิ่งที่มีอำนาจอยู่เหนือโชคโดยประการทั้งปวง  คือ การประพฤติถูกต้องตามกฎอิทัปปัจจยตา  ชนิดที่ทำให้อยู่เหนือโชคเหนือกรรมได้สิ้นเชิง

ท่านพุทธทาสภิกขุ
ที่มา. หนังสือ “เนื้อนาบุญ  ค้ำจุนชีวิตให้รุ่งเรือง”
โดย. ศ.ธรรมรัตน์
ภาพจาก. อินเทอร์เนต    



“เราสำรวจตรวจตราทุกอย่างจนเรียบร้อย  จิตใจของเราคลายกังวลจากทุกสิ่งอย่าง  วางภารธุระทุกอย่างลงให้เรียบร้อย  และทำใจให้สบาย  คิดว่าเราจะปฏิบัติความดีเพื่อให้ตนเองและครอบครัวมีความสงบสุข  มั่นคง  และอยู่ในกรอบแห่งศีลธรรมอันดีงาม  ร่างกายที่สะอาดบริสุทธิ์  บวกเข้าด้วยใจที่เต็มเปี่ยมด้วยศรัทธา  ความเชื่อความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย  คงไม่ใช่เรื่องยากที่จะประพฤติปฏิบัติได้”

ที่มา. หนังสือ “ธรรมะก่อนนอน ๕ นาที”
โดย. พระอาจารย์วิเชียร  วชิรปัญโญ
ภาพจาก. อินเทอร์เนต

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

** เรียนรู้วิธีหาความสุข จากละครเรื่อง "เมียแต่ง"


ละครเรื่อง "เมียแต่ง" นั้นให้ข้อคิดได้หลายอย่างเลยค่ะ อย่างเช่นตัวของ "ปรุงฉัตร" เอง
ที่ตลอดเรื่องวิ่งหาแต่ความรัก ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น อยากเอาชนะคน คิดว่าได้มาแล้วจะมีความสุข
ความสุขที่วิ่งไล่ไขว่คว้า เช่นนี้เป็นความสุขที่แท้จริงหรือ?
สุดท้ายก็ต้องสูญเสียทุกอย่างไป โดยที่ไม่มีโอกาสแม้แต่จะแก้ตัวกับคนที่ "รักเรา" และ "คนที่เรารัก"
"ความทุกข์มีไว้ให้เห็น ไม่ได้มีไว้ให้เป็นเลือกเอานะว่าชีวิตที่เหลือ
เราอยากเป็นทุกข์หรือว่าเป็นสุข"






ขอบคุณ: youtube.com

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

** รู้ทันเจ้าตัวร้าย โดย......พระไพศาล วิสาโล



ที่มา.  เฟสบุ๊ค  คุณ ดวงใจ ในเรือนธรรม 
ภาพจาก. อินเทอร์เนต


"เราคุ้นกับกิเลส ๓ ตัว คือ โลภะ โทสะ และโมหะ เพราะได้ยินบ่อย ที่จริงยังมีกิเลสอีกชุดหนึ่ง ๓ ตัวเหมือนกัน คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ แต่กิเลสชุดนี้คนไทยรู้จักน้อยกว่า โดยเฉพาะคำว่ามานะ มานะแปลว่าความถือตัว ความสำคัญตัวว่าสูง หรือความอยากใหญ่ อยากเด่น อยากดัง เป็นกิเลสอย่างหนึ่ง ส่วนตัณหาคือความอยากมีอยากได้ เช่น อยากรวย แต่ถ้าอยากใหญ่ อยากดัง อยากเด่น หรือสำคัญว่าฉันเหนือกว่า ฉันดีกว่า อันนี้เราเรียกว่ามานะ ส่วนทิฐิหมายถึงความยึดติดถือมั่นในความคิด เราคงเคยได้ยินคำว่า “ตัวกูของกู” ความยึดติดว่า “ของกู” หรืออยากได้มาเป็น “ของกู” นี้คือตัณหา ส่วนความยึดติดว่ามี “ตัวกู” หรือหลงยึดมั่นว่า กายและใจนี้คือ “ตัวกู” อันนี้คือทิฏฐิ ถ้าพูดให้เต็มก็คือ สักกายทิฏฐิ กิเลส ๓ ตัว คือ ตัวกู ของกู และนี่กูนะ หรือ ทิฏฐิ ตัณหา และมานะ บางทีก็เรียกว่า อหังการ มมังการ มานานุสัย
การแสดงออกของมานะ
มานะนั้นแสดงอาการได้หลายอย่าง อย่างหยาบๆ ก็คือ เย่อหยิ่ง จองหอง ถือตัว ดูถูกคนอื่น รวมทั้ง อวดเก่ง อวดเบ่ง อวดดี อวดฉลาด ขี้โม้ อวดรวย อวดสวย อวดหล่อ อาการอวดเหล่านี้ใช่มานะทั้งนั้น
มานะยังแสดงอาการอย่างอื่นได้อีกเช่น ความภาคภูมิใจ เกิดความมั่นใจในตัวเอง จนกระทั่งเกิดความรู้สึกว่า ฉันแน่ ฉันเก่ง ฉันวิเศษ จนถึงขั้นหลงตัวลืมตน ที่จริงความภาคภูมิใจก็มีประโยชน์เหมือนกัน ไม่ใช่มีโทษอย่างเดียว เช่น ทำให้รู้สึกดีกับตัวเอง ไม่ใช่ว่าไร้ค่า แต่มันก็ยังเป็นกิเสลอยู่นั่นเอง นอกจากนี้มานะยังทำให้เราไม่อยากฟังคำแนะนำจากใคร ไม่ชอบเวลามีใครตักเตือนหรือวิจารณ์ อาการแบบนี้ใกล้เคียงกับกิเลสที่ชื่อทิฏฐิ ทิฏฐิคือความใจแคบ ความยึดมั่นว่าความคิดของฉันนั้นถูก ความคิดของฉันนั้นดี ดังนั้นคนไทยจึงมักเรียก ทิฏฐิมานะ คู่กัน ก็เพราะว่าทั้งทิฏฐิและมานะ ทำให้เราดื้อดึง ไม่ฟังใคร อย่างไรก็ตาม ทิฏฐิกับมานะต่างกัน ตรงที่ทิฏฐิเป็นความยึดมั่นในความเชื่อของตน ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นความคิดที่ถูกต้อง ส่วนมานะนั้นเป็นความยึดมั่นในอัตตาตัวตน คือยึดมั่นว่าฉันเก่ง ฉันแน่ ฉันถูก ก็เลยไม่ยอมฟังคำวิจารณ์"

** ชีวิตคล้ายโทรทัศน์ช่องหนึ่ง


ที่มา. หนังสือ  เข้าใจชีวิตด้วยความคิดอย่างเซน โดย. บุญก่าย  ฉิมกูล
ภาพจาก. อินเทอร์เนต




** ชีวิตคล้ายโทรทัศน์ช่องหนึ่ง **
มนุษย์คนหนึ่งคล้ายกับโทรทัศน์เครื่องหนึ่ง
ซึ่งมีช่องล้านช่อง
ถ้าเราเปิดไปสู่ช่องของพุทธะ  เราก็เป็นพุทธะ
ถ้าเราเปิดสู่ช่องเศร้า  เราก็โศกเศร้า
ถ้าเราเปิดสู่ช่องยิ้ม  เราก็ยิ้มได้จริงๆ

ที่มา. หนังสือ  เข้าใจชีวิตด้วยความคิดอย่างเซน โดย. บุญก่าย  ฉิมกูล
ภาพจาก. อินเทอร์เนต


วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

** ความจนเป็นทุกข์ในโลก


(ฉักกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๓๙๒)
เฟสบุ๊ค "เพียงพบพาน  เพื่อผ่านภพ
ภาพจาก.  อินเทอร์เนต



ღ ความจนเป็นทุกข์ในโลก ღ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจน
เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม."

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า "เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า"
จึงตรัสต่อไปว่า "ดูก่อนภิกษุทังหลาย
คนจนไม่มีทรัพย์ของตนเอง ไม่มั่งคั่ง ย่อมกู้หนี้.
แม้การกู้หนี้ก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม."

"คนจนกู้หนี้ ก็จะต้องเสียดอกเบี้ย.
แม้การเสียดอกเบี้ย ก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม."
"คนจนที่จะต้องเสียดอกเบี้ย ไม่ให้ดอกเบี้ยตามกำหนด
ก็ถูกเขาทวง แม้การถูกทวง ก็เป็นทุกข์
ในโลกของผู้บริโภคกาม."
"คนจนถูกทวง ไม่ให้เขา ก็ถูกเขาตามตัว
แม้การถูกตามตัว ก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม."
"คนจนถูกตามตัว ไม่ให้เขา ย่อมถูกจองจำ
แม้การถูกจองจำ ก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม."

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจนก็ดี, การกู้หนี้ก็ดี,
การเสียดอกเบี้ยก็ดี, การถูกทวงก็ดี, การถูกตามตัวก็ดี,
การถูกจองจำก็ดี เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม
ด้วยประการฉะนี้.

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออุปไมยก็อย่างนั้นเหมือนกัน.
บุคคลบางคนไม่มีศรัทธา(ความเชื่อ) ในกุศลธรรม
ไม่มีหิริในกุศลธรรม ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม
ไม่มีความเพียรในกุศลธรรม ไม่มีปัญญาในกุศลธรรม
บุคคลนี้ เรียกว่าเป็นคนจน ไม่มีทรัพย์ของตนเอง
ไม่มั่งคั่งในวินัยของพระอริยเจ้า."

"คนจน (ทางธรรม) นั้น เมื่อไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม
ไม่มีหิริในกุศลธรรม ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม
ไม่มีความเพียรในกุศลธรรม ไม่มีปัญญาในกุศลธรรม
ย่อมประพฤติทุจจริตทางกาย วาจา ใจ การประพฤติทุจจริต
ทางกาย วาจา ใจ นี้ เรากล่าวว่า เป็นการกู้หนี้ของผู้นั้น."

"คนจน (ทางธรรม) นั้น เพราะเหตุที่จะปกปิดทุจจริต
ทางกาย วาจา ใจนั้น จึงตั้งความปรารถนาลามก ปรารถนาว่า ดำริว่า
คนทั้งหลายอย่ารู้เรื่องเราเลย ย่อมกล่าววาจา ย่อมพยายาม
ทางกาย ด้วยคิดว่า คนทั้งหลายอย่ารู้เรื่องเราเลย.
ข้อนี้ เรากล่าวว่า เป็นการเสียดอกเบี้ยของผู้นั้น."

"เพื่อนพรหมจารี (ร่วมประพฤติพรหมจรรย์) ผู้มีศีลเป็นที่รัก
ย่อมกล่าวถึงผู้นั้นว่า มีการกระทำอย่างนี้ มีความประพฤติอย่างนี้.
ข้อนี้ เรากล่าวว่า เป็นการถูกทวงของผู้นั้น."

"ความคิดที่เป็นอกุศล (กุศลวิตก) อันลามก อันประกอบ
ด้วยความเดือดร้อน ย่อมติดตามผู้นั้น ผู้ไปสู่ป่าก็ตาม
สู่โคนไม้ก็ตาม สู่เรือนว่างก็ตาม. ข้อนี้ เรากล่าวว่า
เป็นการถูกตามตัวของผู้นั้น."

"คนจน (ทางธรรม) นั้น ประพฤติทุจจริตทางกาย วาจา ใจ แล้ว
ภายหลังที่สิ้นชีวิตไป ย่อมถูกจองจำ ด้วยการจองจำในนรกบ้าง
ด้วยการจองจำในกำเนิดแห่งสัตว์ดิรัจฉานบ้าง."

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นการถูกจองจำอย่างอื่น
สักอย่างเดียว ที่ทารุณ ที่นำทุกข์มาให้ ที่ทำอันตราย
แก่การบรรลุธรรมะอันปลอดโปร่งจากิเลส
อันเป็นธรรมยอดเยี่ยม เหมือนการถูกจองจำในนรก
หรือในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานนี้เลย."

(ฉักกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๓๙๒)


** ตระหนักรู้


ที่มา.  หนังสือ “ความสุขยิ้มได้”  โดย. ชุติปัญโญ
ภาพจาก. อินเทอร์เนต



** ตระหนักรู้ **

เมื่อเรารู้จักตระหนักถึงคุณค่าของชีวิต
บนรากฐานของความไม่ประมาท
โดยมีความตายอันเป็นจุดจบ
มาเป็นครูสอนการเริ่มต้นของชีวิตแล้ว
เราจะรู้จักมองสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างรู้คุณ
และปฏิบัติต่อสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างรู้เท่าทัน
เมื่อนั้นความตายจึงชื่อว่าเป็นรุ่งอรุณแห่งการเรียนรู้ชีวิต
อย่างทรงคุณค่าอย่างแท้จริง

ที่มา.  หนังสือ “ความสุขยิ้มได้”  โดย. ชุติปัญโญ
ภาพจาก. อินเทอร์เนต



วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

** ‎"เบื่อหน่ายสังคม จะดำรงชีวิตอยู่อย่างไร"



ที่่มา....เฟสบุ๊ค  "พระไพศาล  วิสาโล"  https://www.facebook.com/visalo

อันที่จริงความเบื่อหน่ายก็มีข้อดีอยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะสำหรับคนที่หมกมุ่นในอะไรบางอย่างมากเกินไป หากที่ผ่านมาคุณจดจ่อใส่ใจกับเรื่องสังคมเอามาก ๆ ความรู้สึกเบื่อหน่ายที่เกิดขึ้นกับคุณวันนี้ก็ช่วยให้คุณไม่เสียเวลากับเรื่องนั้นมากเกินไป มีเวลาให้กับเรื่องอื่นมากขึ้น ซึ่งอาจจะสำคัญต่อตัวคุณมากกว่าก็ได้

ความเบื่อหน่ายมักเกิดขึ้นจากความไม่สมหวังที่เห็นสิ่งต่าง ๆ ไม่เป็นไปดั่งใจ ก็เลยหมดความกระตือรือร้น แต่ถ้าคุณเห็นว่ามันเป็นธรรมดาที่สิ่งต่าง ๆ จะผันผวนแปรปรวน มีขึ้นมีลง เพราะมีเหตุปัจจัย ไม่อาจเป็นไปตามใจของใครได้ และไม่ขึ้นอยู่กับความต้องการของใคร ความเบื่อหน่ายก็จะหายไป มีความรู้สึกปกติ เป็นกลางมาแทนที่

ถ้าคุณเบื่อหน่ายสังคมรอบตัว ก็ลองเบนความสนใจของตัวไปยังสิ่งอื่นชั่วคราว หรือจำกัดความสนใจให้แคบลง มาเน้นเรื่องที่สำคัญต่อชีวิตของคุณ เช่น การทำงานหรือความสัมพันธ์ในครอบครัว ทุ่มเทความใส่ใจให้กับสิ่งนั้นอย่างเต็มที่ อย่าเจ่าจุกแล้วเอาแต่เบื่อหน่ายกับสิ่งรอบตัว ควรใช้ชีวิตด้วยความกระฉับกระเฉง รวมทั้งตื่นและนอนเป็นเวลา และออกกำลังกายเป็นประจำด้วย แม้จะฝืนใจอยู่บ้างก็ควรทำ หาไม่แล้วชีวิตจิตใจจะเปลี่ยนจากเบื่อหน่ายกลายเป็นซึมเซาและไร้ชีวิตชีวา หากจะมีส่วนที่ต้องเกี่ยวข้องกับผู้คนหรือสังคมนั้น ก็อย่าปฏิเสธหรือผลักไส อดกลั้นต่ออารมณ์ ขณะเดียวกันก็พยายามมองจากมุมของคนอื่นด้วย บางทีคุณจะเข้าใจมากขึ้นว่าทำไมเขาถึงทำเช่นนั้น ความเข้าใจดังกล่าวจะช่วยให้คุณเบื่อหน่ายหรือระอาผู้คนน้อยลง

แต่ถ้าคุณเบื่อหน่ายสังคมแบบสุด ๆ ทำอย่างไรก็ไม่ดีขึ้น ก็น่าจะปลีกตัวไปปฏิบัติธรรมหรือหลีกเร้นไปอยู่ป่าสักระยะหนึ่ง น่าจะดีขึ้น ในที่สุดคุณอาจจะพบว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่สังคมหรือผู้คนรอบตัว แต่อยู่ที่ใจของคุณเอง หากไม่แก้ตรงนี้ ต่อไปแทนที่จะเบื่อหน่ายสังคม ก็กลายเป็นเบื่อหน่ายตัวเอง


ที่่มา....เฟสบุ๊ค  "พระไพศาล  วิสาโล"  https://www.facebook.com/visalo
ภาพจาก. อินเทอร์เนต

** การขาดสติ...



“ถ้าขาดสติ  โอกาสที่จิตใจจะวิ่งไปตามอารมณ์ภายนอกมันก็มีมากขึ้น
และอารมณ์ทั้งหลายก็ย่อมครอบงำจิต  ให้หลงใหลมัวเมาได้ง่ายขึ้น”

หลวงปู่กินรี  จนฺทิโย  วัดกันตศิลาวาส
ที่มา. หนังสือ “ให้ธรรมะวันละนิด เติมข้อคิดวันละคำ”
โดย. ปัญญา ศีณี  เรียบเรียง
ภาพจาก. อินเทอร์เนต


** ยิ่งเดินจะยิ่งไม่ถึง (หยุดเดินนั้นแหละจึงจะถึง)




ความหมายในภาษาคน : หมายถึง  เป็นธรรมะชั้นสูงคนธรรมดาฟังแล้วไม่เข้าใจ

ความหมายในภาษาธรรม : หมาถึง  ความสงบ  หรือนิพพาน  ยิ่งเดิน  ยิ่งไม่ถึง  คือ  ไม่ถึงความสงบ  ไม่ถึงนิพพาน  นิพพานจะถึงได้  เพราะไม่ต้องการ  เพราะไม่อยาก  เพราะไม่หวัง  เพราะไม่ปรารถนา  มันจึงไม่ต้องเดิน  ไม่เดินมันจึงถึงนิพพาน  ยิ่งเดินยิ่งไม่ถึง  ยิ่งเอายิ่งไม่ได้  ยิ่งเอายิ่งมีตัณหา  อยากเอานั่นเอานี่  เป็นนั่นเป็นนี่  มันก็ยิ่งไม่ได้  พอหยุดเอาเสียเท่านั้น  มันก็ได้เต็มที่ขึ้นมา

ท่านพุทธทาส  ภิกขุ
ที่มา. หนังสือ “ตามรอยพุทธทาส”  โดย. นพ นันทวัน
ภาพจาก. อินเทอร์เนต



** ชีวิตเรา มีขึ้น และ มีลง



  ชีวิตเราทุกคน  มีขึ้น มีลง  เป็นจังหวะชีวิต  ช่วงขาขึ้น  ก็ดีใจพอประมาณ  ช่วงขาลง  ก็อย่าเศร้าจนทำอะไรไม่ถูก เมื่อมีขึ้น ก็ต้องมีลง  เป็นธรรมดา ขึ้นๆ ลงๆ วนเวียนอยู่เช่นนี้เอง....

ที่มา.  หนังสือ  ธรรมะเย็นฉ่ำ
ภาพจาก. อินเทอร์เนต


วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

** ทำหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องในปัจจุบัน



“ไม่ต้องอาลัยอดีต  ไม่ต้องพะวงอนาคต  ขอแต่ให้ทำหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องในปัจจุบันก็เพียงพอแล้ว  ที่จะไม่เป็นทุกข์ และไม่เป็นปัจจัยแก่สัสตทิฐิ คือ ตัวตนที่เวียนว่ายไปในวัฏฏะ”

ที่มา. ท่านพุทธทาส ภิกขุ
        จากหนังสือ “ธรรมะ จุดประกายเพื่อความรู้เท่าทันชีวิต” โดย. ปัณณวัฒน์
        ภาพจาก. อินเทอร์เนต


** เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา



“ในคราวใดที่เรามีความสุขสมหวัง
ให้เราคิดถึงความผิดหวังเอาไว้บ้าง
แต่หากวันใดที่เรามีความผิดหวัง
จึงตั้งใจไว้เถิดว่าทุกอย่าง
ล้วนเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา”

ที่มา. หนังสือ “ธรรมะก่อนนอน ๕ นาที”
โดย. พระอาจารย์วิเชียร  วชิรปัญโญ
ภาพจาก. อินเทอร์เนต


วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

** มิตรภาพ



มิตรภาพ

มิตรภาพที่แท้อยู่บนพื้นฐานของความรักความเอ็นดู
โดยไม่เกี่ยวในตำแหน่งของท่าน ดังนั้น หากท่านยิ่งเป็นห่วง
เป็นใยในความเป็นอยู่และสิทธิของผู้อื่น
ท่านก็จะเป็นมิตรแท้มากขึ้นเท่านั้น
หากท่านเปิดเผยและจริงใจ ในท้ายที่สุด
ท่านก็จะได้รับผลดีกับตัวท่าน
หากท่านหลงลืมหรือไม่ใส่ใจคนอื่
ในท้ายที่สุด ท่านก็จะสูญเสียประโยชน์ของตัวท่านเอง

Genuine human friendship is on the basis of human affection, irrespective of your position. Therefore, the more you show concern about the welfare and rights of others, the more you are a genuine friend. The more you remain
open and sincere, then ultimately more benefits will come to you. If you forget or do not bother about others, then eventually you will lose your own benefit.

ทะไลลามะที่ 14
‎~ อย่าทำรอยยิ้มหล่นหายไป ~ ..เบ็ดเตล็ด ความรู้ และ กำลังใจ..


** ธรรมะอัศจรรย์ โดย. ท่านสุพันธ์ แก้วมงคล




คัดลอกมาจาก  เฟสบุ๊ค  "ท่านสุพันธ์  แก้วมงคล"



** ชีวิต.. ไม่ใช่เรื่องแค่...มีอะไรที่เกิดขึ้นมา...แต่เป็นเรื่องที่ว่า " จะจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว อย่างไร....?


** เมื่อรู้ว่าอนิจจัง...ย่อมไม่ประมาทในชีวิต...การรู้จักชีวิต จึงควรรู้จักใช้ชีวิตด้วย สาธุ

** การปล่อยวาง...คือ ภาระสุดท้าย...และเป็นหน้าที่ของจิตใจ...ที่ไม่ต้องแบกความทุกข์ ความกังวล 

ต่างๆ ไว้กับชีวิต...

** หากความสุข ความทุกข์ความสมหวัง ความผิดหวังความรัก ความเกลียดชังความยากดี มีจน เคยเกิด

ขึ้นแล้ว...เรายังจะต้องการรู้อะไรอีก ชีวิต ก็คงมีเพียงเท่านี้เเหละ...จึงไม่ควรหลง...

**เมื่อเราอยู่ในโลก...ได้เรียนรู้ชีวิต และสิ่งทั้งหลาย


ชื่อว่า ได้เรียนรู้ธรรมะ ขึ้นพื้นฐานในการอยู่ร่วมกั


ไม่ว่าทางตรง หรือทางอ้อม ล้วนเกี่ยวข้องกัน ทั้งหมด
จึงขอตัวพักผ่อน เมื่อจิตใจและร่างกายพร้อม
เราก็จะนอนหลับสบาย...

และพร้อมที่จะตื่นในยามเช้า...

มาพับกับบุคคลทั้งหลายในโลก...
ด้วยพลังกาย พลังใจ ที่กล้าแกร่ง แช่มชื่น เบิกบาน ด้วยธรรม...สาธุ

** 
พระพุทธศาสนา อธิบายได้ทุกแง่มุม...พระพุทธองค์จึงทรงให้แยกแยะระหว่างภาษาโลก กับภาษาธรรมผู้

เข้าใจภาษา จึงควรเข้าใจเจตนาในการสื่อสารระหว่างหลักศีลธรรมขึ้นพื้นฐาน กับหลักปรมัตถธรรมอัน

สูงสุด  สาธุ


ที่มา. http://on.fb.me/npx3U9  (เฟสบุ๊ค ท่านสุพันธ์  แก้วมงคล)